ประวัติการแต่งตัวแบบโลลิต้า

โลลิต้า (Lolita) เป็นสังคมย่อยๆ ของแวดวงแฟชั่นในญี่ปุ่น ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีได้รับอิทธิพลจากเสื้อผ้าของเด็กในยุควิคตอเรีย หรือที่รู้จักกันดีกับเสื้อผ้าในยุค Rococo แฟชั่นโลลิต้าถูกเติมแต่งให้เป็นแฟชั่นที่มีเอกสักษณ์โดยการเพิ่มลุคแบบโกธิคและส่วนประกอบตามแบบต้นตำรับเข้าไป ด้วยเหตุนี้ แฟชั่นโลลิต้าจึงจัดเป็นสไตล์แฟชั่นย่อยๆ และนำไปสู่การก่อตัวเป็นสังคมย่อยๆ ในญี่ปุ่น ความเป็นโลลิต้าในเบื้องต้นประกอบด้วย กระโปรงความยาวระดับเข่า หรือเดรส (Dress) เฮดเดรสหรือเครื่องประดับศีรษะ(Headdress) เสื้อ (Blouse)กระโปรงสุ่ม ถุงเท้าหรือถุงน่องระดับเข่า และรองเท้า Rocking horse หรือรองเท้าส้นสูง หมีเท็ดดี้แบร์ และตุ๊กตาอย่างSuper Dollfies ที่มักจะถือไว้เป็นให้เหมือนเด็กๆ
ประวัติความเป็นมาของแฟชั่นโลลิต้า
แม้ว่าจะไม่รู้แน่ชัดว่า โลลิต้า มีจุดเริ่มต้นอย่างไร โลลิต้าที่รู้จักกันทุกวันนี้ ส่วนใหญ่แล้วเริ่มต้นในช่วงปลายยุค 1970s กับการก่อตั้งแบรนด์ชื่อดังอย่าง Pink House and Milk ขายเสื้อผ้าซึ่งจะเหมาะกับมาตรฐานของชุดโลลิต้าทุกวันนี้ และที่ตามมาติดๆ คือ Baby, The Stars Shine Bright และ Metamorphose temps de filleต่อมาในช่วงยุค 1990s แฟชั่นโลลิต้าเริ่มถูกนำมาใช้โดยวง Malice Mizer และ Visual Keiอื่นๆ ทำให้เป็นที่นิยม วงเหล่านี้สวมเสื้อผ้าที่ประณีตสวยงาม ซึ่งแฟนๆ ของพวกเขาเริ่มนำมาเป็นสไตล์การแต่งตัวของตัวเอง ในไม่ช้าก็เริ่มแพร่เข้าสู่เขตคันไซ (Kansai) จนในที่สุดก็เข้ามาโตเกียว (Tokyo) ที่ซึ่งทำให้เป็นที่นิยมของวัยรุ่นญี่ปุ่นไปทั่ว เมื่อวงเหล่านี้เริ่มสวมใส่เสื้อผ้าสไตล์โลลิต้า ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และแม้ทุกวันนี้ โลลิต้าสไตล์อเมริกันส่วนใหญ่จะบอกว่าพวกเขาได้แบบอย่างมาจากวง Visual Kei ของญี่ปุ่นที่ชื่นชอบ ความนิยมของแฟชั่นโลลิต้าเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้แม้กระทั่งในห้างสรรพสินค้า


วัฒนธรรมโลลิต้า
ในญี่ปุ่น ทั้งๆ ที่โลลิต้ายังเป็นเพียงวัฒนธรรมย่อยๆ และเป็นแฟชั่นแบบชายขอบ แฟชั่นโลลิต้าก็ยังเป็นตลาดแบบ mass และสามารถพบเห็นบางส่วนบนถนนของเมืองโตเกียวและโอซาก้า บนจอทีวี ในการ์ตูนมังงะ (ดูตัวอย่างได้จากเรื่อง Paradise Kiss เขียนโดย Ai Yazawa ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากแฟชั่นโกธิคโลลิต้า) และเกมคอมพิวเตอร์ ส่วนประเทศอื่นๆ นอกญี่ปุ่น แฟชั่นโลลิต้ายังคงเป็นแฟชั่นชายขอบที่ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางนัก ทั้งๆ ที่โลลิต้าได้เริ่มเผยแพร่ไปยังประเทศอื่นๆ อย่างช้าๆ
เราสามารถเห็นการแต่งคอสเพลย์และปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นอื่นๆ สไตล์โกธิคโลลิต้าบนเวทีคอนเสิร์ตและงานอนิเมะได้ทั้งในแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกา สไตล์โกธิคโลลิต้านี้ยังไม่เป็นตลาด mass นอกประเทศญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าแบรนด์ของญี่ปุ่นที่สามารถสั่งซื้อได้โดยตรงจากต่างประเทศจะมีจำนวนมากขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ตามมีสาวกจำนวนมากที่มาเติมช่องว่างที่เหลืออยู่ นิตยสารโกธิคโลลิต้าสามารถหาซื้อได้ทางอินเตอร์เน็ต และร้านหนังสือญี่ปุ่นที่วางจำหน่ายอนิเมและมังงะ สาวกโลลิต้ามักจะเย็บชุดโลลิต้าด้วยตัวเอง บางครั้งก็อาจจะซื้อสำเร็จรูปสำหรับความยากง่ายในการหาซื้อจากประเทศญี่ปุ่น สิ่งเหล่านี้แตกต่างจากแฟชั่นตะวันตกส่วนใหญ่ แฟชั่นโลลิต้ามักจะถูกตั้งความคาดหวังไว้สูงกว่านั้น เสื้อผ้าที่มีคุณภาพสูง ไม่ใช้ลูกไม้ราคาถูก และไม่ใช่ดีไซน์คอสเพลย์ สาวกโลลิต้าจำนวนมากซื้อชุดโลลิต้า accessories และตุ๊กตาผ่านมาทางออนไลน์จากแบรนด์ญี่ปุ่น เช่น Baby, The Stars Shine Bright หรือทาง ebay หรือ Lolita fellow อื่นๆ